โครงการการเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอในผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบาง วันที่ 13 ธันวาคม 2562 ณ FORMULA B PLACE เมืองหลวงพระบาง
การจัดแสดงนิทรรศการ MODERN NAN FASHION LIFESTYLE INNOVATION
การจัดแสดงนิทรรศการ MODERN NAN FASHION LIFESTYLE INNOVATIONระหว่างวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2562 ณ เมืองนวัตกรรมแห่งสยาม (SIAM INNOVATION DISTRICT) แนวคิด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จังหวัดน่าน การนำเอาองค์ความรู้จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณาจารย์ผู้เชื่ยวชาญด้านแฟชั่น พยายามสร้างตราสินค้า (Brand) ไลฟ์สไตล์ที่มีอัตลักษณ์จำเพาะจากทุนวัฒนธรรมของพื้นถิ่นจังหวัดน่าน และพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สร้างสรรค์จากวัตถุดิบที่มีคุณภาพจากนวัตกรรมสิ่งทอ เพื่อพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle products) ให้มีความทัดเทียมคุณภาพในระดับสากล (จากท้องถิ่นสู่สากล) โดยมุ่งเน้นการสร้างต้นแบบ ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ (Lifestyle Product) โดยใช้นวัตกรรมสิ่งทอบนฐานทุนวัฒนธรรม ท้องถิ่นจังหวัดน่าน เพื่อเชื่อมโยงภูมิปัญญา พร้อมการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสิ่งทอแก่ชุมชน เพื่อให้ได้รูปแบบ ของผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ […]
โครงการนิทรรศการแฟชั่น FASH LAB
โครงการนิทรรศการแฟชั่น FASH LAB วันที่ 21 พฤษภาคม 2561 ณ อาคาร SIAM INNOVATION DISTRICT นิทรรศการ “FASH LAB” (Fashion Laboratory) เป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยสร้างสรรค์ด้านแฟชั่น ของนิสิตหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต, ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, และศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาแฟชั่นและสิ่งทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้ใช้กระบวนการทดลอง ค้นคว้า และออกแบบทดสอบอย่างมีหลักการ เพื่อสร้างผลงานวิจัยสร้างสรรค์ต้นแบบที่มีคุณค่าเป็นรากฐานของการพัฒนาที่สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม ผลงานที่จัดแสดงในนิทรรศการภายใต้หน่วยวิจัยฯ มีทั้งหมด 4 ผลงาน ผลงานการออกแบบแฟชั่น ภายใต้โครงการนวัตกรรมผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ ปีที่ 1. รศ.ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล การเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสู่สาธารณชน […]
โครงการนิทรรศการ ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ธุรกิจศิลป์สากลModern I-SAN
โครงการนิทรรศการ ทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ธุรกิจศิลป์สากล Modern I-SAN ระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2558 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร การนำเสนอผลงานวิจัยทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่ธุรกิจศิลป์สากล ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนา และรวมกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์หนึ่งตำลลหนึ่งผลิตภัณฑ์ Cluster OTOP ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อประยุกต์การใช้ทุนวัฒธนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นสิ่งทออีสานเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมทางแฟชั่น ทั้งเพื่ออนุรักษ์และเป็นรากฐานการสร้างมูลค่าให้กับสินค้าแฟชั่นในระดับสากล