โครงการการเพิ่มมูลค่านวัตกรรมสิ่งทอในผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์จากฐานการผลิตจังหวัดน่านสู่ตลาดเมืองหลวงพระบางโดยความร่วมมือระหว่าง หน่วยปฏิบัติการวิจัยแฟชั่นและนฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ (FAC-RU) และ ภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก คณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) ความเป็นมาและความสำคัญ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมการออกแบบสินค้าแฟชั่นสิ่งทอไลฟ์สไตล์ มุ่งเน้นเพื่อตอบสนองกับกลุ่มลูกค้าตลาดระดับบนที่เป็นนักท่องเที่ยวในหลวงพระบาง ผ่านการสร้างเครือข่ายคลัสเตอร์โดยใช้จังหวัดน่านเป็นฐานขององค์ความรู้ทางด้านการออกแบบ วัตถุดิบ กระบวนการผลิตสินค้าแฟชั่นสิ่งทอไลฟ์สไตล์ เพื่อส่งไปสู่จุดจัดจำหน่ายที่เป็นประตูการค้าสู่ตลาดระดับบน ณ เมืองหลวงพระบาง ทั้งนี้ผลจากการวิจัยในโครงการฯ ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมผ่านกระบวนการถ่ายทอดนวัตกรรมองค์ความรู้การพัฒนาการย้อมสีสิ่งทอธรรมชาติจากกากเมล็ดโกโก้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่ตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ให้กับผู้ประกอบการด้านสิ่งทอในพื้นที่จังหวัดน่าน และเป็นแนวทางในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ที่สอดรับกระแสแนวโน้มที่ผู้บริโภคหันมานิยมและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการสร้างเครือข่ายให้กับผู้ประกอบการทั้งในจังหวัดน่านและหลวงพระบาง ในโอกาสนี้ทางคณะผู้ดำเนินโครงการ ขอขอบพระคุณสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สภาการค้าหลวงพระบาง มหาวิทยาลัยสุภานุวงศ์ เจ้าเดวิท สมสนิท ผู้เชี่ยวชาญผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งทอ กลุ่มผู้ประกอบการในจังหวัดน่าน และหลวงพระบาง ทางคณะผู้ดำเนินโครงการมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลจากการวิจัยและการจัดนิทรรศการในครั้งนี้ จะนำมาซึ่งต้นแบบแนวทางในการพัฒนานำองค์ความรู้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้ต่อยอดสู่การพัฒนาชุมชนและสังคม อันจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ สร้างรายได้และอาชีพให้กับชุมชนทั้ง […]
ร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรม สายอุดมศึกษา ปี 2562
การเข้าร่วมการประกวดผลงานนวัตกรรม สายอุดมศึกษา ปี 2562 ระหว่าง วันที่ 7-10 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ การประกวดผลงานนวัตกรรม สายอุดมศึกษา ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยนายนวัทตกร อุมาศิลป์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล (ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์) ได้รับรางวัลเหรียญเงิน จากผลงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฎีความยั่งยืน
การเผยแพร่งานวิจัย ภายใต้ “โครงการทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น สู่ธุรกิจศิลป์สากล” งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 10
การเผยแพร่งานวิจัย ภายใต้ “โครงการทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น สู่ธุรกิจศิลป์สากล” งานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ระหว่างวันที่ 16 – 22 สิงหาคม 2558 โครงการทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น สู่ธุรกิจศิลป์สากล” เป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ผลงานวิจัยในเรื่อง หัตถานารีสู่วิถีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภายใต้สำนักวิจัย จุฬาฯ ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รางวัล PLATINUM AWARD จากงานมหกรรมวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์
โครงการนิทรรศการแฟชั่น ZERO WASTE GLAM THE CREATION OF SUSTAINABLE FASHION BY PREEDA SRISUWAN
โครงการนิทรรศการแฟชั่น ZERO WASTE GLAM THE CREATION OF SUSTAINABLE FASHION BY PREEDA SRISUWAN วันที่ 26 เมษายน 2562 ณ อาคาร SIAM INNOVATION DISTRICT แนวคิด การออกแบบจากผลงานการวิจัย นวัตกรรมแฟชั่นเพื่อความยั่งยืน ในคอลเลคชั่น ZERO-WASTE GLAM โดยนายปรีดา ศรีสุวรรณ์ และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ รศ.ดร. พัดชา อุทิศวรรณกุล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากการศึกษาแนวคิดยั่งยืน แฟชั่นยั่งยืน แพทเทิร์นไร้เศษ สู่การทดลองและออกแบบผสมผสานแนวโน้วแฟชั่น […]
การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้องานวิจัย นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฏีความยั่งยืน
การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้องานวิจัย นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฏีความยั่งยืน (INOVATIVE TEXTILES FROM ETLINGERA ELATIOR FIBER TO FASHION LIFESTYLE PRODUCT UTILIZING SUSTAINABLE THEORY) ระหว่างวันที่ 6 – 8 ธันวาคม 2561 ณ SIAM INNOVATION DISTRICT การเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสู่สาธารณชนของ นายนวัทตกร อุมาศิลป์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล (ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์) ภายใต้ผลงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมสิ่งทอจากเส้นใยดาหลาสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ แฟชั่นไลฟ์สไตล์โดยใช้ทฤษฏีความยั่งยืน (INOVATIVE TEXTILES […]
การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้องานวิจัย THE CULTURE COLLAB
การจัดแสดงผลงานวิทยานิพนธ์ภายใต้หัวข้องานวิจัย THE CULTURE COLLAB วันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 ณ อาคาร SIAM INNOVATION DISTRICT การเผยแพร่ผลงานวิจัยของนิสิตระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตสู่สาธารณชน โดย นายอรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล (ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์) ภายใต้ผลงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัย (Fashion and Lifestyle Brand Innovation Identity for Elder) แนวคิด – การนำเสนอนวัตกรรมแนวคิดในการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์สำหรับสตรีสูงวัยและผลงานออกแบบสร้างสรรค์
นวัตกรรมสิ่งทอผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์
ผู้ดำเนินงานวิจัย รองศาสตราจารย์ ดร.พัดชา อุทิศวรรณกุล โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชาวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ หน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุน : กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช ปีงบประมาณ ๒๕๕๙
อัตลักษณ์ผ้าปักอาเซียน
อัตลักษณ์ผ้าปักอาเซียน ผู้ดำเนินงานวิจัย : อาจารย์ศมิสสร สุทธิสังข์